ความปลอดภัยและการฟื้นฟูระบบไฟฟ้าหลังน้ำท่วม


 

บทความที่เป็นประโยชน์ในสถานการณ์น้ำท่วม เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไฟฟ้าและการฟื้นฟูระบบไฟฟ้าหลังน้ำท่วม ประกอบด้วย

  1. สวัสดิภาพและความปลอดภัยหลังน้ำท่วม
  2. การทดสอบความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้า (ในบ้าน) หลังน้ำท่วม
  3. การฟื้นฟูระบบไฟฟ้ากำลัง อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องจักรหลังน้ำท่วม
  4. เครื่องมือสำหรับการตรวจสอบระบบไฟฟ้าหลังน้ำท่วม

ยินดีให้คำแนะนำปรึกษาฟรี

สวัสดิภาพและความปลอดภัยหลังน้ำท่วม

เจ้าของอาคารที่ถูกน้ำท่วม มักจะมีคำถามยาก ๆ เกี่ยวกับน้ำท่วมระบบไฟฟ้าในอาคารของเขาเอง อาทิเช่น

  • ผมจะทำยังไงหลังน้ำลดแล้ว
  • เบรกเกอร์และฟิวส์จะมีความปลอดภัยในการใช้งานอยู่ หรือไม่
  • ผมจะต้องเปลี่ยนสายไฟใหม่ไหม

การที่น้ำท่วมสามารถทำให้เกิดปัญหาไฟไหม้ที่รุนแรงได้ ถ้าระบบสายและอุปกรณ์ถูกแช่น้ำแม้แต่การที่จะทำความสะอาดและทำให้แห้งแล้วก็ตาม แต่ตะกอนและสารพิษก็ยากต่อการที่จะทำความสะอาด เหมือนว่าการทำความสะอาดหลังน้ำลดแล้วมันก็ยังมีความอันตรายของระบบไฟฟ้าแฝงอยู่ ซึ่งมันเหนือกว่าหน้าที่ของคุณที่จะแก้ไขได้ ก่อนที่จะเริ่มใช้ เริ่มทำงาน จะต้องให้ช่างไฟฟ้าทำการตรวจเช็คในเรื่องของสายไฟและในความเสียหายอื่น ๆ และเรื่องการซ่อมแซมให้เรียบร้อยเสียก่อน ซึ่งจะมีข้อแนะนำที่สำคัญในเรื่องของความปลอดภัยดังนี้

  • ห้ามเปิดสวิทซ์ หรือใช้งานปลั๊กไฟจนกระทั่งช่างไฟจะบอกว่ามันปลอดภัยแล้วเท่านั้น
  • ห้ามสัมผัสเบรกเกอร์ หรือฟิวส์ในขณะที่มือเปียก หรือในขณะที่ตัวยังอยู่ในน้ำ ให้ใช้พลาสติกแห้ง หรือยางที่เป็นฉนวนไฟฟ้าและสวมถุงมือกันไฟเพื่อปิดสวิทซ์ไฟฟ้า
  • อย่าปล่อยให้สายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าเปียก ห้ามถอดสายดิน
  • ใช้เซฟตี้คัทแบบพกพา เพื่อป้องกันการถูกไฟฟ้าดูด
  • อุปกรณ์ไฟฟ้าใดใดที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า ถ้าจมน้ำให้เลิกใช้ทันที
  • เมื่อต้องใช้เครื่องดูดฝุ่นชนิดดูดเปียก-แห้ง หรือเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ให้ปฎิบัติตามคู่มือการใช้อย่างเคร่งครัด
  • เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดใช้เครื่องยนต์ เครื่องกำเนิดคาร์บอนมอนนอกไซด์ สามารถทำอันตรายได้ ควรใช้ในที่เปิดโล่ง หรือพื้นที่ใกล้ประตู หน้าต่าง
  • อย่าเปิดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียหาย อาจทำให้เกิดอันตราย หรือไฟดูดได้


การฟื้นฟูระบบไฟฟ้ากำลัง อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องจักรหลังน้ำท่วม

ลำดับขั้นตอนการฟื้นฟูระบบ
ข้อควรระวัง : ต้องสวมถุงมือยางและรองเท้านิรภัยไฟฟ้าสำหรับการทำงานที่มีกระแสไฟฟ้าทุกครั้ง

  1. ตัดระบบจ่ายไฟฟ้าทั้งหมด
  2. ถ่ายภาพความเสียหายจากน้ำท่วมสำหรับการเรียกร้องการประกันและการหักภาษี เก็บบันทึกค่าจ่ายทั้งหมด
  3. ตรวจสอบโครงสร้างอาคาร ตรวจสอบรากฐานว่ามีการแตกหัก หรือไม่ ตรวจสอบผนังพื้นและหน้าต่างเพื่อทำการแก้ไขซ่อมแซม
  4. ถ้าตู้สวิทซ์ที่อยู่ในชั้นใต้ดินที่ถูกน้ำท่วม ควรทำการสูบน้ำออกจากชั้นใต้ดินและทำให้ระบบไฟฟ้าดังกล่าวแห้ง
  5. ทำการค้นหาแนวสายไฟที่อยู่ใต้ดิน ใต้ผนัง หรือในรางเดินสายไฟ เพื่อทราบแนวที่แน่นอน เพื่อให้ง่ายต่อการซ่อมแซมและติดตั้งสายไฟในระบบใหม่
  6. หากมีการแก้ไข ซ่อมแซมติดตั้งใหม่เรียบร้อย จะต้องมีการทดสอบระบบไฟฟ้าก่อนการจ่ายไฟฟ้าไปยัง Load
  7. วัดแรงดันไฟฟ้าว่าตรงตามที่ต้องการ หรือไม่
  8. ตรวจสอบการเชื่อมต่อของสายไฟฟ้าทั้ง L, N, PE
  9. เมื่อตรวจสอบการติดตั้งของระบบไฟฟ้าแล้ว ทำการทดสอบระบบ Load โดยเชื่อมต่อ Load เข้าสู่ระบบไฟฟ้า (โดยทำการเชื่อมต่อ Load ทีละชุด และทำการตรวจสอบระดับแรงดัน, กระแส, กำลังไฟฟ้า, (อุณหภูมิของ Load และสายไฟ, จุดต่อ) ไฟฟ้ารั่วในระบบ
  10. ตรวจเช็คสภาพมอเตอร์ในขณะ Run เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น Looseness, Unbalance miss alignment, Bearing
  11. หากปฎิบัติตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังประสบปัญหาอยู่ควร Shutdown ระบบและติดต่อกับ Supplier ของระบบเครื่องจักร

การตรวจสอบการลัดวงจร (Short) ของระบบไฟฟ้า

  1. ยืนบนพื้นฉนวนในขณะที่ทดสอบระบบไฟฟ้า หรือควรยืนบนพื้นที่แห้งและสวมถุงมือกันไฟฟ้า
    • ทำการทดสอบความเป็นฉนวนของตู้สวิทซ์หลักและระบบไฟฟ้าย่อยโดยวัดความเป็นฉนวนดังนี้
  2. วัดความเป็นฉนวนของ Circuit Breaker ภายในตู้ MDB ในแต่ละเฟสโดยทดสอบเฟส-เฟส, เฟส-นิวทรอน, เฟสเทียบกราวด์
  3. ทำการตรวจสอบสายไฟฟ้า
    • สภาพสายไฟจะต้องสมบูรณ์ไม่แตกร้าว ไม่บวม
    • สายไฟฟ้าไม่บาดกับโลหะจับยึดสายไฟ
    • ตรวจวัดด้วยเครื่องวัดความเป็นฉนวน (Insulation Tester) เพื่อยืนยันให้แน่นอนว่าสายไฟฟ้าดังกล่าวพร้อมใช้งาน หรือมีความเสียหายไปแล้ว
    • วัดค่าความเป็นฉนวนระหว่างสาย L-N, L-PE, N-PE โดยการวัดจะต้องเป็นการวัดระหว่างตัวนำกับตัวนำเท่านั้น โดยที่จะต้องปลดสายไฟฟ้าจากสวิทซ์หลักและอุปกรณ์ไฟฟ้า (Load) จะต้องได้ค่าไม่ต่ำกว่า 0.5 เมกกะโอห์ม โดยใช้ระดับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงทดสอบไม่ต่ำกว่า 500 V เป็นเวลาต่อเนื่องไม่ควรต่ำกว่า 30 วินาที ตามมาตรฐาน IEC 6036
  4. ตรวจสอบค่าความเป็นฉนวนของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น มอเตอร์ต่าง ๆ
    • วัดค่าความเป็นฉนวนของสายไฟที่เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ในกรณีที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า 3 เฟส
    • วัดสายไฟ เฟสเทียบเฟส
    • วัดสายไฟเฟสเทียบนิวทรอน (ต้องปลดอุปกรณ์)
    • วัดสายไฟนิวทรอนเทียบกราวด์ (โครง)
    • วัดสายไฟเฟสเทียบกราวด์ (โครง)